You are currently viewing งานประชุมวิชาการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 23

งานประชุมวิชาการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 23

Environment & Low-Carbon Society for Sustainable Future”

วันที่ 9-10 พฤษภาคม 2567  โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชา ออคิด จังหวัดขอนแก่น

ปัจจุบันสภาวะแวดล้อมโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนจากปัจจัยหลายประการ ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อเนื่องให้เกิดปัญหา น้ำท่วม ภัยแล้ง และการขาดแคลนทรัพยากร รวมถึงสถานการณ์โลกมีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จากปัญหาการระบาดใหญ่เป็นเหตุให้ทั่วโลกเกิดวิกฤตด้านทรัพยากร อาหาร และวัตถุดิบ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวและคงการพัฒนาทางเศรษฐกิจไว้ ประชาคมโลกจึงมีเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อให้มีภูมิคุ้มกันต่อวิกฤตและมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ซึ่งต้องอาศัยหลักวิชาการ วิธีการจัดการหรือนวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่จากการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทั้งนี้การจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมสมัยใหม่ รวมไปถึงการใช้นวัตกรรมแนวคิดในการแก้ปัญหาแบบใหม่ การเฝ้าระวังและการสังเคราะห์ข้อมูล และการใช้เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเป็นการเฉพาะ เพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม โดยพิจารณาการบูรณาการองค์ความรู้ในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องอย่างครอบคลุมในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน สมาคมวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย (สวสท.) ซึ่งก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 ดำเนินกิจกรรมด้านวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง โดยกิจกรรมหนึ่งของ สวสท. คือการเผยแพร่ความรู้ทางด้านวิชาการ ในรูปแบบการจัดสัมมนา ประชุมวิชาการประจำปี ฝึกอบรม นิทรรศการ และทัศนศึกษา ดังนั้น เพื่อให้การเผยแพร่วิชาการด้านสิ่งแวดล้อมเป็นไปโดยกว้างขวาง สวสท. จึงได้จัด “การประชุมวิชาการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ” ขึ้นปีละครั้ง ซึ่งหมุนเวียนกันไปทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้จากนักวิชาการ นักวิจัย และผู้มีประสบการณ์จริงในภาคสนาม โดยการนำผลงานวิจัย การปฏิบัติงาน ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะต่าง ๆ ทางด้านสิ่งแวดล้อม นำเสนอในที่ประชุมวิชาการเพื่อนำไปสู่การเผยแพร่องค์ความรู้ทางด้านสิ่งแวดล้อม อันจะยังประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของประเทศต่อไป

 

การจัดประชุมวิชาการครั้งที่ 23 สวสท. เจ้าภาพหลักโดยมีเจ้าภาพร่วม ได้แก่ ศูนย์วิจัยด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและสารอันตราย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยรูปแบบการประชุมวิชาการประกอบด้วยการบรรยาย นำโดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐและเอกชน การอภิปรายกลุ่ม การนำเสนอบทความโดยการบรรยาย รวมทั้งการนำเสนอในแบบโปสเตอร์โดยกำหนดการประชุมวันที่ 9-10 พฤษภาคม 2567 โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชา ออคิด จังหวัดขอนแก่น 

เนื้อหาในการประชุมวิชาการมีดังนี้คือ

  • นวัตกรรม/ BCG โมเดลสู่สิ่งแวดล้อมยั่งยืน
  • อุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
  • การพัฒนาเมือง/เมืองอัจฉริยะ/เมืองสีเขียว
  • การป้องกันมลพิษ เทคโนโลยีสะอาด และวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์
  • พลังงานสีเขียว
  • การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • การจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ
  • การจัดการมลพิษและความเสี่ยง
  • การปรับปรุงคุณภาพน้ำและการบำบัดน้ำเสีย
  • การจัดการมลพิษทางอากาศและเสียง
  • เทคโนโลยีและการจัดการขยะ
  • การจัดการและฟื้นฟูพื้นที่ปนเปื้อน
  • เทคโนโลยีการจัดการสิ่งแวดล้อม
  • การจัดการทรัพยากรน้ำ และคุณภาพน้ำ
  • การจัดการและการฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง
  • เทคโนโลยีขั้นสูงสำหรับสิ่งแวดล้อม (เซ็นเซอร์และการตรวจวัด นาโนเทคโนโลยี เทคโนโลยีชีวภาพ ฯลฯ)
  • มลพิษและสารปนเปื้อนอุบัติใหม่ในสิ่งแวดล้อม

 

สำหรับงายวิจัยที่น่าสนใจด้านทคโนโลยีและการจัดการขยะคืองานวิจัยเรื่อง การนำขยะประเภทขวดและถุงพลาสติกนำไปจัดการเพื่อนาไปใช้วัสดุในคอนกรีตบล็อกเชิงตันConverting Plastic Bottles and Bags to be Used in Solid Concrete Masonry Units ซึ่งพอสรุปบทคัดย่อได้นี้

การศึกษานี้นำขยะประเภทถุงพลาสติกและขวดพลาสติกโดยรอบวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ทั้งนี้รหัสของเสียประเภทถุงพลาสติกซึ่งไม่ใช่ของเสียอันตรายคือ 15 01 02 มาใช้ประโยชน์โดยทำเป็นอิฐบล็อกก่อผนังเชิงตันไม่รับน้ำหนัก โดยใช้แบบหล่อคอนกรีตบล็อกเชิงตันก่อผนังขนาดมาตรฐาน ขนาด 39x 7 x 19 ซม. พิจารณากาลังรับแรงอัด ความหนาแน่น และการดูดซึมน้ำ ทั้งนี้อัตราส่วนของส่วนผสม ชีเมนต์ ต่อทราย ต่อน้ำเท่ากับ 1: 2 : 0.5 โดยน้ำหนักของปูนซีเมนต์ อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานที่ 0.5 แปรผันระยะเวลาในการบ่มก้อนตัวอย่างที่ 3และ 7 วัน ทำการหล่อก้อนตัวอย่างต่อตัวอย่าง 12 ก้อน และเลือกสุ่มวัด 3 ก้อน ค่ากาลังรับแรงอัด ของอิฐบล็อกที่ระยะเวลาการบ่ม 3 วันมีค่ากาลังอัดเฉลี่ย 141.54 กก./ตร.ซม. และ 7 วันมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 169.77 กก./ตร.ซม. โดยมากกว่ามาตรฐานคอนกรีตบล็อกเชิงตันไม่รับน้ำหนัก 4 เท่า ค่าความหนาแน่น 1 กรัมต่อตารางเซนติเมตร และร้อยละการดูดซึมน้ำเฉลี่ย 1.95 ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นในด้านส่วนผสมพบว่าการผลิตอิฐบล๊อคก่อผนังไม่รับน้ำหนักจากถุงพลาสติก 1 ก้อน เมื่อแทนที่ของเสียพลาสติกในปริมาณ 0.258 กิโลกรัม ค่าใช้จ่ายราคาต่อ 1 ก้อน เท่ากับ 8.8 บาท

งานวิจัยนวัตกรรม/ BCG โมเดลสู่สิ่งแวดล้อมยั่งยืนที่น่าสนใจคือ การนำถุงมือและเศษผ้ากลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ กรณีศึกษาบริษัท ไดกิ้น คอมเพรสเซอร์ อินดัสทรีส์ จากัด Recycling Gloves and Cloth Scraps: Case Study of Daikin Compressor Industries Ltd. ซึ่งพอสรุปบทคัดย่อได้ดังนี้ โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณถุงมือและเศษผ้าที่คัดแยกได้ภายในโรงงานและการนาถุงมือและเศษผ้า ดังกล่าวกลับมาใช้ประโยชน์ จากผลการศึกษา พบว่า ถุงมือและเศษผ้าที่สามารถรีไซเคิลได้มีทั้งหมด 6 ชนิด ได้แก่ 1) NYLON COAT PU GLOVE (ถุงมือไนลอน), 2) TC GLOVES ( ถุงมือผ้าสีขาว), 3) PVC GLOVE ( ถุงมือยาง), 4) CHEMICAL SHOWA 720 (ถุงมือยางสีน้าเงิน), 5) CHEMICAL GLOVES (ถุงมือเคมีสีฟ้า) และ 6) เศษผ้าขาว ปริมาณถุงมือและเศษผ้าที่รีไซเคิลได้ คิดเป็นประมาณ 88 เปอร์เซ็นต์ของถุงมือและเศษผ้าที่ส่งไปรีไซเคิลทั้งหมด 427 กิโลกรัม ถุงมือไนลอนมีเปอร์เซ็นต์การรีไซเคิล มากที่สุด จากการประเมินข้อมูลการนาถุงมือและเศษผ้ากลับมาใช้ประโยชน์ใหม่สามารถลดปริมาณถุงมือและเศษผ้าปนเปื้อน คราบน้ำมันได้ 5,124 กิโลกรัมต่อปี ซึ่งสามารถลดค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อถุงมือและเศษผ้าใหม่ และ ลดค่าใช้จ่ายในการส่งไปกำจัด คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1.87 ล้านบาทต่อปี

งานวิจัยด้านการปรับปรุงคุณภาพน้ำและการบำบัดน้ำเสียที่น่าสนใจคือ ผลกระทบของของแข็งละลายน้าและสารอินทรีย์ละลายน้ำต่อประสิทธิภาพการกำจัดไมโครพลาสติกโดยกระบวนการโคแอกกูเลชัน-ฟล็อคคูเลชัน-ตกตะกอน Effects of Total Dissolved Solid and Dissolved Organic Matter on Microplastic Removal Efficiency by Coagulation-Flocculation-Sedimentation ซึ่งพอสรุปบทคัดย่อได้ดังนี้ ปัจจุบันอนุภาคไมโครพลาสติกสามารถพบได้ในแหล่งน้ำผิวดินเป็นจำนวนมากซึ่งส่งผลให้เกิดความตื่นตัวและความพยายามในการกำจัดอนุภาคเหล่านี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค กระบวนการโคแอกกูเลชัน-ฟล็อคคูเลชันและตกตะกอน (Coagulation-Flocculation-Sedimentation, CFS) เป็นหนึ่งในกระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำที่ใช้งานอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นกระบวนการที่สามารถกำจัดสารแขวนลอยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการที่ราคาถูก แต่อย่างไรก็ตามการเพิ่มขึ้นของค่าของแข็งละลายน้ำ (Total dissolved solid; TDS) จากการรุกล้ำของน้ำทะเล และสารอินทรีย์ละลายน้ำ (Dissolved organic matter; DOM) ในแหล่งน้ำผิวดิน อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพการกำจัดไมโครพลาสติก ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นศึกษาผลกระทบของ TDS และ DOM ต่อประสิทธิภาพการกำจัดไมโครพลาสติกด้วยกระบวนการ CFS โดยใช้การทดลองจาร์เทสที่มีสารส้มเป็นสารรวมตะกอน และใช้น้ำสังเคราะห์ ซึ่งประกอบด้วยไมโครพลาสติกชนิดโพลีเอธีลีน (Poly ethylene Microplastic; PEMP) จำนวน 100 ชิ้น/ลิตร เกลือจากโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) และโซเดียมซัลเฟต (Na2SO4) ที่ให้ค่าการนำไฟฟ้าที่ 500 5,000 และ 9,000 μS/cm และ กรดฮิวมิก (Humic Acid;HA) ที่ความเข้มข้น 5 10 และ 15 มิลลิกรัม/ลิตร จากผลการทดลองพบว่า ในน้ำประปาสังเคราะห์ที่มีค่า TDS และ DOM ใกล้เคียงกับน้ำดิบทั่วไป สามารถกำจัดไมโครพลาสติกเป็นไปได้ไม่ดีนักโดยมีประสิทธิภาพเพียง 46% แต่เมื่อค่า TDS และ DOM มีค่าสูงขึ้นพบว่ากระบวนการ CFS สามารถกำจัด PEMP ได้ดี โดยมีประสิทธิภาพการกำจัด 75 – 91% ที่ปริมาณสารส้มที่เหมาะสมนอกจากนี้ยังพบว่า HA ในน้ำจะช่วยเพิ่มการกำจัด PEMP ได้อย่างมีนัยยะส้าคัญมากกว่าการเพิ่มขึ้นของค่า TDS ซึ่งเป็นผลมาจากการดูดซับ HA ลงบนผิวของ PEMP ทำให้เกิดความเป็นประจุลบมากขึ้นร่วมกับการเกิดฟล็อคจากการรวมตัวของ HA ในน้ำ ซึ่งจำป็นต้องใช้ปริมาณสารส้มเพิ่มขึ้นด้วย

ประมวลภาพการประชุมวิชาการการจัดประชุมวิชาการครั้งที่ 23 สวสท.