You are currently viewing การกำหนดโจทย์การวิจัย (ตามแบบฉบับ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ)

การกำหนดโจทย์การวิจัย (ตามแบบฉบับ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ)

ตามที่ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าอบรมโครงการ “สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ (ลูกไก่)” รุ่นที่ 3 โดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง วันที่ 22-26 สิงหาคม 2565 ณ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย นั้น ในวันนี้ทางผู้เขียนจะขอนำข้อมูลส่วนนึงที่น่าสนใจมาสรุปให้อ่านเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการทำวิจัยกัน

          หัวข้อในวันนี้คือ การกำหนดโจทย์การวิจัย

          การกำหนดโจทย์การวิจัย ในสมัยนี้ (ย้ำว่าสมัยนี้) ไม่ใช่โจทย์วิจัยตามความต้องการของผู้จัดทำวิจัยเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป แต่กลายเป็นการผสมผสานให้เข้ากับความต้องการและยุทธศาสตร์ของหน่วยงานที่สนับสนุนทุนวิจัยด้วย กล่าวแบบย่อ ๆ คือ ต้องมีการ “กำหนดโจทย์การวิจัย ที่สอดคล้องกับนโยบายการวิจัยของประเทศ ตามบริบทของชุมชน และ/หรือ การดำเนินงานตามภาระกิจหลัก” ลำพังเพียงประโยคนี้อาจจะยังไม่ค่อยเข้าใจ ทางผู้เขียนก็จะขอขยายความ ว่าลักษณะของโจทย์วิจัย ต้องมีลักษณะดังนี้

  • เป็นประเด็นปัญหาที่สอดคล้องกับ (1) ยุทธสาสตร์ชาติ 20 ปี (2) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ รวมทั้ง (3) นโยบายและยุทศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2566-2571 ตาม Platform, Program และ “OKR” ของการวิจัยตามแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.)
  • เป็นประเด็นปัญหาที่นักวิจัยมีความเกี่ยวข้อง หรือ มีประสบการณ์ เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหา หรือ เคยมีผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง กับ ประเด็นปัญหานั้น
  • ลักษณะงานวิจัยส่วนใหญ่จะเป็น การวิจัยบูรณาการ หรือ สหสาขา

ซึ่งภาพรวมของแผนทั้ง 3 ระดับ จะอยู่ในรูปแบบของพีระมิด โดยด้านบนสุดจะเริ่มจาก ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ดังภาพที่ 1

ภาพที่ 1 ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

ถ้าผู้อ่านได้เข้าไปศึกษาตัวยุทธศาสตร์จะพบว่า ภายในจะประกอบไปด้วย 6 ยุทธศาสตร์ชาติ ดังภาพที่ 2 ในส่วนนี้ ผู้ที่กำลังคิดหัวข้อวิจัยต้องเริ่มมองหาจุดยืนให้ตนเองแล้วว่าจะดำเนินการวิจัยไปในทิศทางใด

ภาพที่ 2 ภาพรวมยุทศาสตร์ชาติ

ถัดมาเป็นลำดับที่ 2 คือ แผนแม่บทเพื่อการพัฒนาในรูปแบบต่างๆ ซึ่งรับมอบนโยบายมาจากตัวยุทธศาสตร์ชาตินั่นเอง อาจจะประกอบไปด้วย แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ และ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ดังภาพที่ 3

ภาพที่ 3 แผนแม่บทเพื่อการพัฒนา

และสุดท้ายเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการสนองนโยบายและอนุมัติเงินทุนสำหรับการทำวิจัยให้แก่นักวิจัยคือ แผนระดับหน่วยงาน/กระทรวง ดังภาพที่ 4

ภาพที่ 4 แผนระดับหน่วยงาน

สำหรับนักวิจัยต้องศึกษาข้อมูลและวิเคราะห์แหล่งทุนให้ครบถ้วนเพื่อตอบวัตถุประสงค์ของแต่ละหน่วยงานและยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

          คราวนี้กลับมาที่ การกำหนดโจทย์วิจัยเพื่อยื่นขอทุน หน่วยต่าง ๆ จะมีเกณฑ์การประเมินข้อเสนอการวิจัยดังต่อไปนี้

  1. ความสอดคล้องกับ OKR
  2. แนวคิดใหม่/ความคิดสร้างสรรค์
  3. คุณภาพของข้อเสนอการวิจัย ความเป็นไปได้ทางวิชาการ มีโอกาสในความสำเร็จ
  4. Outcome/Output ชัดเจนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ และมีความสอดคล้องกับยุทธศาตร์ชาติ
  5. ศักยภาพนักวิจัยและคณะ

สุดท้ายนี้ทางผู้เขียนขอฝาก ภาพเกี่ยวกับการต้งโจทย์วิจัยเบื้องต้นไว้ดังภาพที่ 5. ว่าอย่างน้อยต้องมีคำตอบให้ครบดังต่อไปนี้

ภาพที่ 5 การตั้งโจทย์วิจัย

สุดท้ายนี้ผู้เขียนก็ขอขอบพระคุณสถานพัฒนาบุคลากรเพื่อการศึกษาทางไกลมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชที่ได้ให้โอกาสผู้เขียนในการเข้าร่วมการฝึกอบรมในโครงการสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ (ลูกไก่) รุ่นที่ 3 ณ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ในครั้งนี้