You are currently viewing “ทำความรู้จัก ASEAN University Network-Quality Assurance Version 4”

“ทำความรู้จัก ASEAN University Network-Quality Assurance Version 4”

จากที่ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าอบรมในรูปแบบออนไลน์ในหลักสูตรเกณฑ์พัฒนาผู้ประเมินฯ ระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA version 4 ระหว่างวันที่ 23-25 มีนาคม พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งหลักสูตรดังกล่าว จัดโดย ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย  โดยการอบรมครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากทุนพัฒนาบุคลากรเพื่อการศึกษาทางไกล ประจำปีงบประมาณ  2565  โดยสรุปสาระสำคัญที่ได้จากการอบรมดังนี้

ภาพที่ 1 GUIDE TO AUN-QA ASSESSMENT AT PROGRAMME LEVEL VERSION 4

เกณฑ์ AUN-QA เพื่อเป็นเกณฑ์การประกันคุณภาพระดับหลักสูตร เพื่อยืนยันว่า หลักสูตรได้มาตรฐานเทียบเคียงเกณฑ์คุณภาพการศึกษาระดับอาเซียน   การเปลี่ยนแปลงเกณฑ์ AUN-QA version 3 สู่ version 4 ซึ่งเป็น version ล่าสุด (มี.ค. 64) ไม่แตกต่างกันมาก เป็นการจัดหมวดหมู่ใหม่ ให้มีความกระชับมากขึ้น โดยจุดมุ่งเน้นยังเน้นการผลักดันการศึกษาแบบ Outcome Based Education หรือการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลการเรียนรู้ โดยเกณฑ์จาก version 3 ที่มี 11 เกณฑ์ ลดลงเหลือ 8 เกณฑ์ ใน version 4 แต่สาระเดิมไม่ได้หายไป แต่เป็นการผนวกเข้าไว้ด้วยกัน เรื่องใดที่เป็นเรื่องเดียวกัน กระบวนการเดียวกัน หรือกระบวนการที่ต่อเนื่องกัน ก็จะผนวกไว้ในข้อเดียวกัน ดังนั้น Version 4 จึงมีจำนวนเกณฑ์ที่ลดลง แต่สำหรับหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาจะมีเกณฑ์การประเมินที่เพิ่มขึ้น (addendum) โดย เกณฑ์ version 4 มี 8 เกณฑ์ ดังนี้

1. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (Expected Learning Outcomes) 

2. โครงสร้างเนื้อหาหลักสูตร (Programme Structure and Content) 

3. การจัดการเรียนการสอน (Teaching and Learning Approach) 

4. การประเมินผู้เรียน (Student Assessment)

5. บุคลากรสายวิชาการ (Academic Staff) 

6. การบริการสนันสนุนผู้เรียน (Student Support Services) 

7. สิ่งอำนวยความสะดวก และโครงสร้างพื้นฐาน (Facilities and Infrastructure) 

8. ผลผลิตและผลลัพธ์ (Output and Outcomes) 

โดยในแต่ละเกณฑ์จะมีองค์ประกอบการประเมินย่อย ซึ่งสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก GUIDE TO AUN-QA ASSESSMENT AT PROGRAMME LEVEL VERSION 4. ทั้งนี้เกณฑ์การให้คะแนนจะมีทั้งหมด 7 ระดับดังภาพที่ 4

ภาพที่ 4 เกณฑ์การให้คะแนน

ผู้เขียนจึงขอขอบพระคุณสถานพัฒนาบุคลากรเพื่อการศึกษาทางไกลมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชที่ได้สนับสนุนให้โอกาสได้ร่วมเรียนรู้ในการอบรมหลักสูตรนี้ ขอขอบคุณที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยที่ได้จัดหลักสูตรอบรมหลักสูตรนี้

วรางคณา จันทร์คง